ภาพรวม เชียงตุง

ประวัติความเป็นมาอันน่าหลงใหล

เชียงตุง เดิมถูกเรียกว่า เก็งตุ๋ง เป็นเมืองหลวงแห่งดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ที่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มระหว่างภูเขาอันกว้างใหญ่ที่สวยงาม ทางด้านตะวันออกของรัฐฉาน ประเทศเมียนมา อยู่ตรงกลางระหว่างชายแดนจีน ไทย และลาว เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในนาม “สามเหลี่ยมทองคำ”

เชียงตุงมีอดีตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร นานมาแล้วเป็นที่ดึงดูดความสนใจของพ่อค้าชาวจีน ข้าราชการอังกฤษสมัยอาณานิคม ผู้แสวงบุญชาวพุทธ มิชชันนารีคริสเตียน รวมทั้งนักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษ จนกระทั่งทุกวันนี้ เมืองเชียงตุงยังคงเป็นเมืองที่ดึงดูดความสนใจเป็นอย่างมากเมืองหนึ่งของเมียนมา

ผู้คนมีเสน่ห์

สถานที่แห่งนี้ได้เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติตั้งแต่ปี1993 เป็นต้นมา และยังคงเป็นสถานที่หาดูได้ยากแห่งหนึ่งในเมียนมา ที่มีภูเขาและหุบเขาสลับซับซ้อนทอดยาวสุดลูกหูลูกตา รวมถึงความสวยงามตามธรรมชาติที่น่าตื่นตาเป็นอย่างยิ่ง ตัวเมือง และบริเวณโดยรอบ เปรียบเสมือนเบ้าหล่อหลอมที่มีความหลากหลายของวัฒนธรรม รวมทั้งเชื่อมโยงภาษาที่หลากหลายของชนกลุ่มน้อยหลายต่อหลายเผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนดอยเหล่านั้น ชาติพันธุ์ฉาน ที่เรียกตัวเองว่า “ไท” เป็นชนเผ่าที่ใหญ่ที่สุด และมีเผ่าน้อยแยกย่อยไปอีกประมาณ 12 เผ่า อาธิเช่น ไทเขิน ไทลื้อ ไทนู้(ไทเหนือ) ไทใหญ่ ไทลาย เป็นต้น ส่วนชนเผ่าน้อยอื่นๆ ก็มี เผ่าอิน เผ่าอาข่า เผ่าอาขุ เผ่าปะหล่อง เผ่าซุนจิม เผ่าลีซู เผ่าลาหู่ เป็นต้น ชนเผ่าน้อยทั้งหลายนี้ สืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิต รวมทั้งเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมและยังคงสืบสานอนุรักษ์ต่อไป

ลิงก์หน้า รายชื่อชนเผ่าต่างๆ

สถานที่ประทับใจ

บนถนนสายหลักในเมืองเชียงตุง ยังเรียงรายไปด้วยร้านค้า อาคารบ้านเรือน โบสถ์สมัยอาณานิคม รวมถึงวัดวาอาราม ซึ่งชนเผ่าฉานเรียกว่า “วัด” มีมากกว่า 30 แห่งในเมืองนี้ด้วย แหล่งที่ไม่ควรพลาดและน่าสนใจส่วนใหญ่สามารถเที่ยวชมได้ด้วยการเดินท่องเที่ยว และมีมอเตอร์ไซค์รับจ้างหรือมีรถยนต์ให้เช่าไว้คอยบริการ การเดินท่องเที่ยวรอบสระหนองตุงที่แสนโรแมนติกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นก็คุ้มค่าเช่นกัน หรือการเลือกรับประทานอาหารตามร้านอาหารโดยรอบหนองตุงในช่วงเย็นจัดเป็นการพักผ่อนที่ดีอีกรูปแบบหนึ่งก็ว่าได้

นอกจากนี้ยังมีตลาดสด(กาดหลวง)ที่เปิดทุกวัน และมักจะคราคร่ำไปด้วยชาวบ้าน และชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่มาจากหมู่บ้านรอบๆ บนดอย ขอแนะนำให้เที่ยวชมในตอนเช้าตรู่

img of waterfall and temple

อาหารอร่อย

สูตรอาหารแบบดั้งเดิมของเชียงตุง จะมีเนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์ปรุงกับหัวหอมและกระเทียม อาหารในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำเป็นอาหารชนเผ่าฉานที่ได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นหลัก ท่านจะได้ลิ้มลองรสชาดอาหารที่หลากหลายไม่ซ้ำเลยในพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเพณีวัฒนธรรมที่หลากหลายเผ่าพันธุ์ของรสชาดอาหาร

ลิงก์หน้า รายชื่อร้านอาหาร

ทีงจาน เทศกาลสงกรานต์ในเดือนเมษายน

เทศกาลสงกรานต์ที่เชียงตุงให้ประสบการณ์ที่แตกต่างจากสงกรานต์ในที่อื่นๆ เทศกาลสงกรานต์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน โดยย้อนกลับไปในปีค.ศ.1410 หรือพ.ศ.1953 ขณะนั้นเชียงตุงได้ประสบภาวะภัยแล้งและเกิดไฟป่าอย่างรุนแรง ซึ่งได้ทำลายพื้นที่ส่วนใหญ่ไป เมื่อนั้นเจ้าฟ้าองค์ที่12 แห่งเชียงตุงสมัยนั้นมีนามว่า ยีขำข่า (Yi Hkam Hka) ได้สั่งให้ชนเผ่าไทลายตีกลองศักดิ์สิทธิ์ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่หยุด เพื่อเป็นการปลอบจิตวิญญาณผีชั่วร้าย พร้อมกับเรียกฝน จากนั้นตำนานเล่าว่า ฝนก็ตกชุกตามมา ทำให้พืชผลฟื้นฟูขึ้น นำสันติภาพและความสุขสำราญกลับมาดังเดิม ทุกวันนี้ผู้คนยังเข้าร่วมพิธีสงกรานต์นี้ ที่จัดขึ้นช่วงเทศกาลปีใหม่ในเดือนเมษายนของทุกปี เตรียมตัวถูกสาดน้ำด้วยน้ำสะอาดและนำความโชคดีมาสู่ท่าน

ดะเซาง์ไตง์ เทศกาล​แสงใน​เดือน​พฤศจิกายน

เทศกาล ดะเซาง์ไตง์ หรือเป็นที่รู้จักในนาม เทศกาลแสง จะจัดขึ้นในวันพระจันทร์เต็มดวงในเดือนดะเซาง์โมน ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤศจิกายน เป็นวันกำหนดสิ้นสุดฤดูฝนอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ยังเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลทอดกฐินอีกด้วย ซึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งเดือนที่ผ่านมาชาวบ้านจะถวายผ้ากฐินและกฐินทานแก่คณะสงฆ์ ในวันนั้นชาวบ้านจะออกมาเฉลิมฉลองกันบนท้องถนนสายหลักในเมืองเชียงตุง และบริเวณใกล้กับวัดก็จะมีการแสดงเต้นรำ และการขับร้องเพลงอีกด้วย

เทศกาลปีใหม่ของชาวอาข่า ในเดือนธันวาคม

เทศกาลปีใหม่ของชนเผ่าอาข่า จะจัดขึ้นในวันที่ 28 ธันวาคมที่เชียงตุง เป็นการฉลองด้วยการร้องเพลงและเต้นรำ ตั้งแต่เช้ามืดจนถึงดึก สำหรับหมวก และเครื่องประดับตกแต่งหมวกอันแสนงดงามตระการตา ซึ่งหญิงชาวอาข่าใส่กันนั้น เพื่อปกป้องตนเองจากวิญญาณผีชั่วร้าย เครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมที่มีลวดลายสีสันสะดุดตา ทำให้เทศกาลนี้เป็นงานยอดนิยมในเชียงตุง และเมื่อตกค่ำในเวลากลางคืนจะเต็มไปด้วยร้านหาบเร่-แผงลอย ขายข้าวเหนียว เนื้อย่าง และอาหารเทศกาลอีกมากมาย